วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎี Luther gulick


ทฤษฎี Luther gulick posdcorb
นำเสนอโดย คุณชนินทร์ สุขสุวรรณ
1.แนวคิด / ความเป็นมา
Lyndall Urwick เกิดเมื่อวันที่  3 มีนาคม 1891 (.. 2434)
เป็นชาวอังกฤษ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก Oxford  ตามปกติเมื่อพูดถึง Urwick ก็ต้องพูดถึง Gulick พร้อมๆกันเพราะผลงานของทั้งสองเป็นที่โด่งดังในเรื่อง Organization Theory มีคำย่อออกมาสู่สายตาชาวโลก  คือ POSDCoRB
               Urwick เสียชีวิตเมื่อ 5 ธันวาคม 1983 (.. 2526) แนวความคิดนี้ประยุกต์เพิ่มเติม มาจากแนวความคิดที่ปรมาจารย์ Henri Fayol บัญญัติเอาไว้ โดยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้น แนวความคิดจึงค่อนไปทางbureaucratic อยู่บ้าง
2.องค์ประกอบ
P = Planning                       การวางแผน
O = Organizing                  การจัดองค์กร
S = Staffing                         การจัดคนเข้าทำงาน
D = Directing                      การสั่งการ
Co = Co-Ordinating          การประสานงาน
R = Reporting                    การรายงาน
B = Budgeting                    การงบประมาณ

3.ใช้เพื่อ
POSDCoRB ใช้เป็นเครื่องมือบริหารงานครบวงจรของฝ่ายบริหารระดับสูง เพื่อบริหารองค์กรอย่างมีระบบ โดยเริ่มจาก การวางแผน ตั้งเค้าโครงเป้าหมายที่จะทำ, จัดโครงสร้างองค์กร, จัดคนเข้าตามโครงสร้าง, อำนวยการ สั่งการ ตามลำดับชั้น ให้งานเดินไปสู่เป้าหมาย
               จากนั้นจะต้องมีการประสานงานระหว่างฝ่าย แผนกต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องกัน โดยมีการรายงานเพื่อให้ทราบผลการปฏิบัติงาน และสุดท้ายมีงบประมาณไว้คอยควบคุมทางการเงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ข้อดีของ POSDCoRB คือ
         ครอบคลุมการบริหารงานทั้งองค์กร
         ใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ไม่ตกรุ่น
          เข้าใจง่าย ชัดเจน
         ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท
ข้อเสียของ POSDCoRB คือ
         ใช้ได้กับภาพรวมองค์กรเท่านั้น
         ต้องได้รับความร่วมมือทั้งองค์กร
        กรณีศึกษา
        ศาสตราจารย์ Luthes Gulick และศาสตราจารย์ LyndallUrwick ที่ได้นำหลักการจัดการของ Faryo มาปรับปรุงประยุกต์กับการบริหารราชการ เขาได้เสนอแนะการจัดหน่วยงานในทำเนียบแก่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
        เพื่อให้ตอบคำถามว่า อะไรคืองานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในที่สุดได้คำตอบสั้น ๆ คือ POSDCoRB
        Model ซึ่งก็หมายถึงกระบวนการบริหาร 7 ประการ

ทฤษฎี Franklin D.Roosevelt (FDR)


ทฤษฎี Franklin D.Roosevelt (FDR) ยุคความหวังใหม่ :ผู้นำต้องกล้า
นำเสนอโดย น.ส.รุ่งลักษมี รอดขำ
ประวัติความเป็นมา
v  เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1882 – เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945
v  ประวัติการทำงาน
§  เป็นช่วง The Great Depression   สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1(ค.ศ. 1929)) จึงได้มีโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาทุกข์ขึ้นภายใต้โครงการที่ชื่อ สู่ความหวังใหม่  New Deal คือ an arrangement for mutual advantage หรือ การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายและเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน
§  องค์ประกอบของ New Deal
v  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
§  ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมในช่วงสภาวะวิฤกติเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสภาพสังคมในขณะนั้นโดยทำให้แรงงานกับเจ้าของอุตสาหกรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว
§  ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ เช่น ให้ชาวผิวขาวและชาวแอฟริกันอเมริกันอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และกลุ่มคนแรงงานกับเจ้าของอุตสาหรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว
§  ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์กรสหประชาติ
v  ข้อดี
§  เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท
§  มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ
§  เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
§  เป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
v  ข้อเสีย
§  เป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู้รัฐบาลกลางมากเกินไป
§  นโยบายหลายๆโปรแกรมไม่ใช่แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
www.pracob.blogspot.com/2010/04/blog-post_7577.html
v  ใครนำเครื่องมือนี้มาใช้บ้าง
§  ผู้นำของโลกหลายคน อาทิต นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส นายนิโคลัส ซาร์โคซี่ นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายบารัค โอบามา กรีนนิวดีล หรือสร้างงานใหม่ด้วยธุรกิจเขียว สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมันหันไปใช้พลังงานสะอาดช่วยสร้างอุตสาหกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก
§  ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา  :ผลักดันอุตสากรรมเขียวกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก เนื่องจากผู้นำประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ พากันเรียกร้องให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโลกเช่น โครงการบ้านและออฟฟิศสีเขียว ลดภาษีรถยนต์ก๊าซเรือนกระจกน้อย และขึ้นภาษีรถที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง (บิสิเนสไทย :2551) www.arip.co.th

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎี Edward Damming

ทฤษฎี Edward Damming
ผลงาน :  หนังสือ ชื่อ Out of the crisis  และ The new Economic for Industry, Government Education
หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
§  Dr. WilliamEdwards Deming ได้พัฒนาวงจร PDCA ขึ้นมาจากแนวคิดของ Dr. W.A. Shewhart ในระยะแรกรู้จัก วงจร PDCA ในนาม Shewhart Cycle จากนั้น Dr. William Edwards Deming ได้นำพัฒนาปรับใช้ในการควบคุมคุณภาพในวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จึงมีชื่อเรียกว่า Deming Cycle (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, 2552)
§   Dr. William Edwards Deming มีความเชื่อว่า คุณภาพสามารถปรับปรุงได้ จึงเป็นแนวคิด ของการพัฒนาคุณภาพงานขั้นพื้นฐาน เป็นการกำหนดขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างระบบการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพดี การให้การบริการดี หรือทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างมีระบบโดยใช้ได้กับทุกๆสาขา วิชาชีพแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์
2. เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
PDCA หรือ Deming Cycle คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย
             P (Plan) คือ   ขั้นตอนการวางแผน เพื่อเลือกปัญหา ตั้งเป้าหมาย 
                       การแก้ปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา
            D (Do)   คือ   ขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่วางไว้
            C (Check)   คือ   ขั้นตอนการตรวจสอบ และเปรียบเทียบผล
            A (Action)   คือ    การกำหนดเป็นมาตรฐานและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
                   
3.เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
เพื่อที่จะนำไปสู่การดำเนินการแก้ปัญหา ปรับปรุง และพัฒนางานให้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  คือ วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)
4. ข้อดี ของ PDCA
§  การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน ป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ
§  การทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม
§   การตรวจสอบที่นาไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็นการนาความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์
§  การใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา ด้วยการตรวจสอบว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้ ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป
5.ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
การนำวงจร PDCA ไปใช้อย่างสัมฤทธิผล
§  Plan : ผู้บริหารกำหนดแผนงานร่วมกับพนักงานทุกระดับ
§  Do : พนักงานนำไปปฏิบัติตามแผนงานโดยได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้างาน
§  Check :       ตรวจสอบเพื่อค้นหาปัญหาข้างเคียงและวิธีแก้ไขที่เหมาะสมที่สุด
§  Act : กำหนดวิธีแก้ไขเป็นมาตรฐานเพื่อให้พนักงานนำไปปฏิบัติได้สะดวก
6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
ตัวอย่างการใช้วงจร PDCA ในการพัฒนาคุณ การนำ PDCA ไปใช้ของมหาวิทยาลัยพายัพ
                        มหาวิทยาลัยพายัพดำเนินการควบคุมคุณภาพในส่วนของปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการผลิต (Process) ผลผลิต (Output) และผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน (Outcome) โดยมุ่งเน้นกระบวนการในวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Quality Cycle of Deming’s Theory: PDCA)

ที่มา : สมประสงค์ เสนารัตน์ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7.กรณีศึกษา
ตัวอย่างการใช้วงจร PDCA ในการพัฒนาคุณภาพการทำ Kaizen ด้วยวงจร PDCA ของ TOYOTA
เป็นที่ยอมรับกันว่า TOYOTA มีประสิทธิภาพการผลิตสูงโดยบริษัท  โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทจำกัด ได้มีส่วนร่วมกับบริษัทแม่ ในประเทศญี่ปุ่นออกแบบรถยนต์มีการพัฒนาให้มีสายงานเทคนิคที่รับผิดชอบการออกแบบรถยนต์ด้วย โดยการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งใน TOYOTA WAY โดยแนวคิดว่า Kaizen เท่ากับ ContinuousImprovement คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กระบวนการ Plan-Do-Check-Act (PDCA) คือ การดูปัญหา วางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง แล้วตรวจสอบว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเป็นวิธีที่ดีก็นำไปใช้ รถยนต์ที่ผลิตออกมาจะมีการทำ Kaizenกันทุกวัน คือปรับปรุงไปเรื่อย ๆ รายละเอียดชิ้นส่วนจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากมีการทดลอง ทดสอบแล้ว พบว่าอะไรที่ทำให้ดีขึ้น ก็จะนำมาใช้ในการปรับปรุงงาน