EVA(Economic Value Added)
EVA คืออะไร
EVA หรือ Economic Value Added เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจในเชิงเศรษฐศาสตร์พัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยบริษัทที่ปรึกษาอเมริกัน Stern Stewart Consulting Group เป็นการให้ความสำคัญมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ
EVA แสดงให้เห็นถึงผลกำไรที่แท้จริงของกิจการโดยหักต้นทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ (Cost of Equity) ที่เราเรียกกันว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของกิจการออกไปด้วยนอกเหนือจากการหักต้นทุนในส่วนของหนี้สิน (Cost of debt) ไปแล้วผลกำไรที่แท้จริงตัวนี้จะแสดงให้เห็นว่าผลการดำเนินงานของธุรกิจนั้นๆมีทิศทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ (Creating value of the firm) หรือกำลังทำให้มูลค่าของธุรกิจลดน้อยลง (Destroying value of the firm)
หาก EVA ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแสดงว่าการบริหารงานของธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จและสร้างความมั่งคั่งให้กับผูถือหุ้น (Shareholders’ wealth) ทำให้ผู้ถือหุ้นเกิดความพอใจนอกจาก EVAจะเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการบริหารงานแล้วยังเป็นเครื่องมือในการสร้างระบบผลตอบแทนที่จูงใจซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้บริหารตัดสินใจบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจและสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น (Maximize shareholders’ wealth) ทั้งบริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐฯ
ในทางบัญชีเราบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์คงค้างเป็นหลักไม่ได้ใช้หลักเงินสดทำให้กำไรที่เกิดขึ้นไม่สามารถวัดมูลค่าในอนาคตได้ (หากมีข้อแตกต่างระหว่างกำไรจากเกณฑ์คงค้างกับกำไรจากเกณฑ์เงินสดมากจะทำให้กำไรไม่มีคุณภาพ) สิ่งที่จะสะท้อนภาพผลการดำเนินงานของกิจการได้ควรจะเป็นกระแสเงินสดที่แท้จริงของกิจการ
EVA ใช้ทำอะไรได้บ้าง
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->ใช้เป็นตัววัดทางด้านการเงินของผลตอบแทนอยู่บนพื้นฐานความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผลการดำเนินงาน
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->ใช้กำหนดแผนการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงขององค์กร
EVA ให้ความสำคัญสูงสุดกับการสร้างมูลค่าเพิ่ม
การสร้างมูลค่าเพิ่มหมายถึงการนำทรัพยากรไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าได้สูงสุดหากไม่มุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วการใช้ทรัพยากรขององค์กรจะเป็นไปอย่างสิ้นเปลืองและสังคมโดยรวมสูญเสียมูลค่าทางโอกาสในการสร้างคุณค่าจากการใช้ทรัพยากรเหล่านั้น
สูตรการคำนวณ EVA
EVA = NOPAT - (WACC x INVESTED CAPITAL)
ส่วนประกอบหลักๆในการคำนวณ EVA จะมีในงบกำไรขาดทุนและงบดุลของทุกบริษัทอยู่แล้วคือ
1. กำไรหลังหักภาษี (Net Operating Profit AfterTax: NOPAT) ซึ่งคำนวณจากรายได้ลบด้วยค่าใช้จ่ายทางด้านปฏิบัติการและภาษี
2. เงินลงทุน (Capital) ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุนหมุนเวียนเงินลงทุนถาวรและส่วนของสินทรัพย์อื่นๆที่ก่อให้เกิดรายได้
3. ต้นทุนของเงินลงทุน (Capital Charge) คือผลตอบแทนที่ทั้งผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ต้องการกล่าวอีกนัยหนึ่งคือผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อเงินลงทุนหากจะต้องไปกู้ยืมเงินมาลงทุนทั้งหมดดอกเบี้ยของเงินทุนก็คือต้นทุนของเงินลงทุน
สรุป
ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสของ “มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ” (Economic Value Added) หรือ EVA เริ่มมาแรงในประเทศไทยโดยนำ EVA มาใช้ในการคำนวณเชิงปฏิบัติอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารกิจการและผู้สนใจโดยทั่วไปซึ่งจะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการนำ EVA มาใช้งานนั้นมีมากมายเช่นเป็นตัววัดทางด้านการเงินของผลตอบแทนอยู่บนพื้นฐานความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น,ใช้กำหนดแผนการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร ,ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงขององค์กรตลอดจนใช้ในการพัฒนาแนวทางวัดผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิดใหม่ทางด้านการบริหารที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจกลับไปยังผู้ถือหุ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น