การบริหารโครงการ (Project Management)
นำเสนอโดย สุวจี วัฒนะวิวัฒน์กุล
รวบรวมโดย อภิชา กิจเชวงกุล
การบริหารโครงการ คือการจัดการและกำกับทรัพยากร (เวลา วัสดุ บุคลากร และค่าใช้จ่าย) เพื่อความสำเร็จของโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ทำไมต้องมีการบริหารโครงการ
ธุรกิจในปัจจุบันแข่งขันกันสูง การบริหารโครงการช่วยควบคุมต้นทุน
ต้องการทำงานให้ได้ดี มีประสิทธิภาพ มีแนวทางชัดเจน
ต้นทุนของโครงการมาจาก 3 สิ่ง คือ P (Performance : ประสิทธิภาพในการทำงาน) T (Time : เวลา)S (Scope/objective : ขอบเขตหรือวัตถุประสงค์ของงาน)
องค์ประกอบของการบริหารโครงการ คือ
(1.) มีความเป็นมาของตัวโครงการ
(2.) มีวัตถุประสงค์ชัดเจน (นับได้เชิงปริมาณ)- เป็นผลผลิต- เป็นบริการ มีหลายวัตถุประสงค์ได้ แต่เป็นทิศทางเดียวกัน
(3.) มีความเป็นเอกเทศ เป็นอิสระเพื่อการวิเคราะห์วางแผน ควบคุมได้และติดตามผลได้
(4.) มีรูปแบบการปฏิบัติสอดคล้องกลมกลืนไปในแนวทางเดียวกัน
(5.) มีกิจกรรม / หรือหลายกิจกรรมต่อเนื่องเชื่อมโยงไปในแนวทางเดียวกัน - มีหลายกิจกรรม- กิจกรรมชัดเจน (6.) มีทรัพยากร (7.) มีจุดเริ่มต้น - จุดสิ้นสุด (8) เกิดประโยชน์ ชี้วัดได้
(9) มีผู้รับผิดชอบ - หัวหน้าโครงการ
การดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้นโครงการ ระยะการวางแผนโครงการ ระยะดำเนินโครงการ และระยะปิดโครงการ
ชนิดของโครงการ
เป็นงานที่คุ้นเคยและใช้เทคโนโลยีที่คุ้นเคย
เป็นงานที่คุ้นเคยแต่ใช้เทคโนโลยีใหม่
เป็นงานที่ใหม่แต่ใช้เทคโนโลยีที่คุ้นเคย
เป็นงานที่ใหม่และใช้เทคโนโลยีใหม่
การบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management)
ปัจจุบันการทำธุรกิจเป็นเกมส์การแข่งขันที่มีความซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต ด้วยสาเหตุนี้องค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างเหมาะสม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และวิชาการสมัยใหม่ จึงมีบทบาทอย่างมากในธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง ผู้บริหารธุรกิจในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนา และปรับเปลี่ยนองค์กรของตนเองอยู่เสมอ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสภาพของการแข่งขันทางการตลาดที่อาจจะมีผลกระทบต่อองค์กรในอนาคต
องค์ประกอบของการจัดการความเปลี่ยนแปลง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง
การละลาย คือ การละลายพฤติกรรมแบบเดิมๆที่เคยปฏิบัติกันในองค์กร
การเคลื่อนย้าย คือ การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาแทนที่สิ่งเดิมๆในองค์กร
การทำให้คงตัว คือ การทำให้สิ่งใหม่ที่เข้ามาแทนที่สิ่งเดิมอยู่คงตัว
2. กลยุทธ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์แบบเผด็จการ
กลยุทธ์แบบประชาธิปไตย
กลยุทธ์แบบใช้อำนาจตามสายการบังคับบัญชา
การจัดการความเปลี่ยนแปลง จะต้องทราบถึงอิทธิพลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและภายในองค์การ และเตรียมแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ทันท่วงที โดยจะอาศัยการวิเคราะห์ร่วมกันของทุกฝ่าย อาศัยข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ องค์การจะต้องพิจารณาการปรับเปลี่ยนแผนเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยมีการวางแผนเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน การกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในอนาคต ทั้งนี้โดยการคำนึงถึงจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ที่เป็นอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ข้อดี
เพื่อเปลี่ยนจากสิ่งเก่าไปสู่สิ่งใหม่ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ขององค์การ
เพื่อความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability)
เพื่อเพิ่มความสามารถและพัฒนาคนในองค์กร (Self Reliability)
เพื่อความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร (Survivability)
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)
ข้อเสีย
กระทบต่อคนที่ทำงานในองค์กร
กระทบต่อกระบวนการทำงานภายในองค์กร
กระทบต่อวัฒนธรรมองค์กร
กระทบต่อโครงสร้างองค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น