วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Planning : Strategic Planning


การวางแผนกลยุทธ์ Strategic Planning
นำเสนอโดย วีรสิทธิ์ ชินวัตร

รวบรวมโดย อภิชา กิจเชวงกุล
1. ความเป็นมาของการวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนเชิงกลยุทธนั้น เป็นเครื่องมือทางด้านการวางแผน (Planning)ในการบริหาร องค์กรให้มีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน นำปัจจัยภายในและภายนอก มาวิเคราะห์เป็นความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ในการนำไปคิดค้นการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรโดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของด้วยการ วิเคราะห์ การมีความยืดหยุ่นของแผนงาน การวางแผน และ ประสิทธิภาพขององค์กร
2. การวางแผนกลยุทธ์ คืออะไร
เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาวโดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหารองค์กร สามารถนำไปปฎิบัติได้จริงและประเมินผลได้เพื่อสามารถปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้
องค์ประกอบของการวางแผนกลยุทธ์
องค์ประกอบที่เป็นตัวแปรที่สำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
<!--[if !supportLists]-->1.         <!--[endif]-->องค์ประกอบทางด้าน การบริหารจัดการ (Management Characteristic)
1.1 การวางแผนระยะยาว (Long Term Orientation) การตั้งเป้าหมายในระดับองค์กรให้บุคลากรในองค์กรเพื่อที่จะพยายามบรรลุจุดมุ่งหมายของงานที่ตนเองได้รับผิดชอบอยู่
1.2 การนำผลสำเร็จในอดีตมาพิจารณา (Perception of past success) เราจะใช้วิสัยทัศน์ที่มีในอดีตมาขัดเกลาให้เกิดวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อสามารถวิเคราะห์จากปรากฎการณ์ เพื่อจัดเตรียมแผนงาน และ การแก้ไขปัญหา เหล่านี้ได้ในอนาคต
<!--[if !supportLists]-->2.         <!--[endif]-->องค์ประกอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทคู่แข่งขัน (Competitor Orientation) จะสามารถเห็นถึงแนวคิดกลยุทธ์การตัดสินใจ ต่างๆที่คู่แข่งขันได้ใช้ เพื่อจะนำมาประเมินได้ นำมาซึ่งทฤษฎีใหม่ๆที่สร้างสรรค์
2.2 การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มั่นคง (Cultural Entrenchment) ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรและพนักงาน เมื่อต้องการสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งแล้ว จึงต้องสร้างวัฒนธรรมร่วมกันภายในองค์กร
2.3 การหาทรัพยากรในองค์กรที่พรั่งพร้อม (Resource Richness) ความพร้อมในด้านทรัพยากรภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะนำไปใช้ในการทำงานได้เสมอ จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขัน
2.4 การระงับพฤติกรรมที่มีทิศทางต่างกันกับเป้าหมายขององค์กร (Anti-planning political behavior) ลดสถานการณ์ของผู้ที่จะแสดงพฤติกรรมความคิดที่แตกต่างจากผู้บริหารได้แล้ว ย่อมจะทำให้แผนงาน ใหม่ที่นำเสนอนั้น มีโอกาสที่จะเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการตอบรับและประสบผลสำเร็จได้
         3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors) มี 2 ปัจจัย คือ
               3.1 การประเมินความเข้มข้นของการแข่งขัน (Competitive Intensity) แข่งขันสูงมีผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของแต่ละองค์กร เราจะสามารถเห็นแผนงานความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆออกมาให้เห็นได้มากยิ่งขึ้น 
               3.2 การสร้างพฤติกรรมการเปิดรับสภาวะตลาด (Industry-wide Mindset) องค์กรใดที่มีความยึดมั่นในความคิดที่สูง โดยกำหนดคุณค่าและการปฎิบัติงานด้วยการวางแผนงานจะคงรูปแบบการบริหารจัดการแบบเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ทำให้การคิดแผนงานใหม่ๆนั้นจะถูกจำกัดเอาไว้ในจำนวนที่ไม่มาก
3. การวางแผนกลยุทธ์ใช้เพื่อ
<!--[if !supportLists]-->·       <!--[endif]-->เพื่อกำหนดวางแผนในระยะยาวให้กับองค์กร
<!--[if !supportLists]-->·       <!--[endif]-->เป็นการวางกรอบการทำงานให้องค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการอนาคต
<!--[if !supportLists]-->·       <!--[endif]-->การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันระหว่างองค์กร กับ สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร            
<!--[if !supportLists]-->·       <!--[endif]-->เพื่อประเมินภาพรวมจาก การกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ใช้
<!--[if !supportLists]-->·       <!--[endif]-->บันทึกความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างเป้าหมาย  และ  กลยุทธ์ที่ใช้ เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพของแผนกลยุทธ์
4. ข้อดีข้อเสียของการวางแผนทางกลยุทธ์
ข้อดี: องค์กรมีจุดหมายเดียวกัน มีแผนงานชัดเจน จัดบุคคลากรตามหน้าที่ที่เหมาะสม เตรียมงบประมาณจัดสรรอย่างถูกต้อง และ มีบรรยาการศการทำงานที่สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกัน
ข้อเสีย: หากมีงบจำกัด จะบริการจัดการแผนกลยุทธ์ได้ยาก และ หากมีงบมาก ก็อาจลงทุนอย่างประมาท การกำหนดแผนกลยุทธ์บางครั้งฝ่ายบริหารอาจเห็นไม่ตรงกัน
5. การจัดทำขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์

ขั้นตอนในการวางแผนกลยุทธ์ 8 ขั้น
6. ผู้ที่นำแผนกลยุทธ์ไปใช้งาน
               กระทรวงพลังงาน ที่นำหลักเศรษฐกิจ พอเพียง มาเป็นหลักในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ของ ยุทธศาสตร์พลังงาน แห่งชาติปี  http://www.energy.go.th/sites/all/files/stragic2012-2016.pdf
7. กรณีศึกษา
กระทรวงฯมองเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงกำหนดแผนกลยุทธ์ด้วยการน้อมนำหลักเศรษฐกิจ     พอเพียงมาปรับใช้โดยยึดหลักตามคุณลักษณะ 3 ด้านคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และ ภูมิคุ้มกัน ที่ดีในตัวมาส่งเสริมเป็นแผนนโยบายพลังงานแห่งชาติในส่วนของการใช้พลังงานสิ้นเปลือง นอกเหนือจาก โครงการรณรงค์การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ใช้เท่าที่จำเป็นแล้ว จึงมีโครงการที่จะนำพืชผล การเกษตรที่เกษตรกรไทยสามารถผลิตได้เองในประเทศนำมาผลิตเป็น พลังงานทางเลือก เป็นน้ำมัน ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม เป็นที่มาของการขยายการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันกัน อย่างแพร่หลายภายในประเทศ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น