วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏีFrank Bunker and Lillian Moller Gilbreth


4. Frank Bunker and Lillian Moller Gilbreth
1. หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
Frank Gilbreth : เกิดเมื่อ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1868 เริ่มงานเป็นคนก่ออิฐและต่อมาได้เป็น ผู้รับเหมาก่อสร้าง Frank สังเกตว่าการก่ออิฐนั้นทำได้หลายวิธี และวิธีส่วนใหญ่สร้างความเหน็ดเหนื่อยและเสียเวลาโดยไม่จำเป็น เขาจึงเริ่มศึกษา Motion Science เพื่อค้นหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำงานหนึ่งๆ Frank เชื่อว่าเราควรประหยัดเวลาเพื่อเก็บไว้สำหรับใช้สร้างความสุข ตลอดชีวิต เขาคิดค้นแต่วิธีที่จะทำให้คนทำงานได้อย่างมีความสุขขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น Frank และ Lillian พบกันที่ห้องสมุดของเมืองบอสตัน Frank แต่งงานกับ Lillian หลังจากจีบเธอได้เพียงสิบวันในปี 1904 ทั้งคู่อยากมีครอบครัวใหญ่ และ Frank เชื่อมั่นว่าเขาสามารถเลี้ยงดูลูกๆ ไม่ว่าจะกี่คนก็ได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายเขาก็มีลูกกัน 12 คน ชาย 6  คน หญิง 6 คน  “เหมาโหลถูกกว่า (Cheaper by the Dozen) ในการทำงานของ Frank ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนโดย Lillian      ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา-อุตสาหกรรม Frank เสียชีวิตหลังหลังแต่งงานได้เพียง 9 ปี ส่วน Lillian เป็นที่ปรึกษาธุรกิจและได้รับการยอมรับให้เป็นสุภาพสตรีคนแรกของการจัดการธุรกิจ “First Lady of Management” จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 93 ปี
หลักการและแนวคิด ของ Frank Bunker และ Lillian Gilbreth เกิดขึ้นเพราะLillian สนใจในลักษณะการทำงานของมนุษย์ ส่วน Frank สนใจในประสิทธิภาพการทำงาน (การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน) Frank จึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการเคลื่อนไหวและเวลา”: Father of time and motion study เนื่องจากได้มีการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา Gilbreth เรียกวิธีการนั้นว่า Therbligs
2. องค์ประกอบของ Time and motion Study

<!--[if !vml]-->



3. เครื่องมือนี้คืออะไร
การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา (Time – and – motion study) หรือเรียกว่า การศึกษาการทำงาน (Work study) เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ของพนักงานรอบๆ บริเวณที่ปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์กันระหว่างพนักงานกับเครื่องมือเครื่องใช้ หรือความสัมพันธ์กันระหว่างพนักงานกับพนักงานในการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม การพิจารณาการเคลื่อนที่ของพนักงาน และวัสดุโดยกว้างๆ จะเกี่ยวข้องกับการพยายามที่จะใช้ลักษณะงาน และเครื่องจักรที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำจัดเวลาว่างของงานออกไปให้มากที่สุด ขจัดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น หรือที่ใช้เวลามากออกไป และพิจารณาความเหนื่อยล้าของพนักงานเป็นหลัก
แนวทาง Therbligs เป็นหลักการของการบริหารจัดการด้านคุณภาพ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่มีอยู่แทบทุกระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น TQM, QCC, Six Sigma หรือ ISO 9000 Therbligs เป็นวิธีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น เริ่มที่การแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็นส่วนๆ และกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นที่ทำให้เสียทั้งแรงงาน และเวลาออกไป ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นผลดี   ต่อผู้ปฏิบัติงาน เพราะงานจะสบายขึ้น Therbligs คือ การปฏิบัติงานโดยรวมของงานอย่างหนึ่ง ก็คือการประกอบรวมกันของประเภทของการเคลื่อนไหวองค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่ง Gilbreth ได้กำหนดขั้นตอนการทำงานไว้ 18 ขั้น เพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนางานโดยสัญลักษณ์นั้นแยกตามประเภทตามจุดประสงค์ของการเคลื่อนไหว ดังนั้นจะต้องเลือก Therbligs ให้ถูกต้องโดยคำนึงถึงว่าการเคลื่อนไหวนั้นดำเนินการไปเพื่ออะไร

4. ข้อดี/ข้อเสียของเครื่องมือ
ข้อดี

ข้อเสีย
1.ได้ผลผลิตหรือผลงานมากที่สุด
2. เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้ปฏิบัติงาน
3. ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการทำงาน

1.ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงาน
2.ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เปลี่ยนแปลง วิธีการปฏิบัติแบบเดิม
3. ต้องจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้อาจทำให้ต้องลงทุนค่อนข้างสูง

5. ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร) เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย
               1. ลดระยะทาง (ระยะเอื้อม)
2. มือทั้งสองจะต้องเริ่มต้นและจบการเคลื่อนไหวในเวลาเดียวกัน
3. มือไม่เคยหยุดทำงานเว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาต
4. มือไม่ต้องทำหน้าที่แทนส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
5. อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำงานต้องมีที่แขวนหรือที่เก็บ ไม่ควรถือไว้
6. เก้าอี้และโต๊ะทำงานควรมีความสูงที่เพียงพอเพื่อให้การทำงานสะดวก
6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
<!--[if !supportLists]-->-       <!--[endif]-->พิศุทธิ์ พงศ์ชัยฤกษ์ วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม มิถุนายน 2555 (22 – 29)
- นนอ.ตระการ จินตนานนท์ และ นนอ. วรุตม์ วรินทราคมเอกสารวิจัยเรื่อง การสร้างชุดการทดลองเรื่อง การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา
<!--[if !supportLists]-->-       <!--[endif]-->ศุภชัย ทรงศักดิ์นาคิน ปริญญานิพนธ์ เรื่อง การเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรมผลิตหลอดบรรจุสินค้าโภคภัณฑ์
<!--[if !supportLists]-->-       <!--[endif]-->Wanprapa Puttapim การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน Management Wage and Salaries.: http://mannagement-psubu.blogspot.com/2012_07_01_archive.html
7. กรณีศึกษา
Gilbreth จัดทำภาพยนตร์แสดงการเคลื่อนไหว หรือ“Therbligs” ของคนงานเพื่อชี้ให้แสดงถึงการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่า และไม่มีผลทางการผลิต และเคลื่อนไหวที่จำเป็นในการทำงาน  ทั้งนี้โดยเรียกความเคลื่อนไหวพื้นฐานนี้ว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น