วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏีLuther Gulick


Luther Gulick
นำเสนอโดย วีรสิทธิ์ ชินวัตร
รวบรวบโดย อภิชา กิจเชวงกุล
1. หลักการและแนวคิดของ POSDCoRB
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐได้รวบรวมนักวิชาการเพื่อประเมินข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการในกองทัพที่ผ่านมา เพื่อใช้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลูเธอร์ กูลิค และ ลินดัล เออร์วิกค์ ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิชาการที่ได้มารวมตัวกันครั้งนั้น ในปี ค.ศ. 1937 ลูเธอร์ กูลิค และ ลินดัล เออร์วิหค์ เสนอแนวคิด ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร POSDCoRB ในบทความ Paper on the Science of Administration: Notes on the Theory of Organization”
POSDCoRB เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้บริหาร
2. POSDCoRB คืออะไร  POSDCoRB คือ หลักในการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้งในภาครัฐ และ เอกชน  ที่ผู้มีอำนาจบริหารมีหน้าที่ และ บทบาทการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ
P = Planning การวางแผน
O = Organizing การจัดการองค์กร
S = Staffing การจัดการด้านบุคคลากร
D = Directing การควบคุมสั่งการ
Co = Coordinating การประสานงาน
R = Report การรายงาน
B = Budgeting การจัดการงบประมาณ
3. POSDCoRB ใช้เพื่อ สร้างกลไก และ โครงสร้างให้กับองค์กร จัดเตรียมบุคลากรที่มีความชำนาญต่างกันให้อยู่ในแผนกที่เหมาะสมกับองค์กร บุคลากรรู้หน้าที่ และ ผู้บริหารสามารถบริหาร และ สั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วางกรอบการทำงานให้องค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร ส่งเสริมการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันภายในองค์กร
4. ข้อดีข้อเสียของ POSDCoRB
ข้อดี
องค์กรมีโอการประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมาย มีสายบังคับบัญชาเดียว
สมาชิกองค์กรมีความเข้าใจวัตถุประสงค์องค์กร และ แบ่งสายงานชัดเจน ไม่สับสน
ในหน่วยงานเดียวกัน มีความเข้มแข็ง เพราะเลือกสายอาชีพเดียวกันมาร่วมกันทำงาน
ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ถูกที่ถูกงาน
การประสานงานระหว่างหน่วยงานมีความสะดวก
จัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนแต่ละส่วนได้อย่างเหมาะสม
ข้อเสีย
เมื่อมีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน บางหน่วยงานอาจเลี่ยงปฎิบัติงานจนกว่าผู้บริการจะสั่งการลงมาโดยตรง
อุปกรณ์หรือเครื่องมือบางชนิดที่อยู่นอกเหนือหน่วยงานตนเอง อาจต้องรอจนกว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบมาเป็นเมื่อการดำเนินงานให้
ทุกคนล้วนอยากอยู่ในหน่วยงานบริหารหลัก ทำงานใกล้ชิดผู้บริหาร อาจเกิดความขัดแย้ง



5. หน้าที่และบทบาทการบริหาร 7 ประการ



6. ใครนำไปใช้บ้าง

7.กรณีศึกษา
วัดโสธรวรมหาวิหาร ใช้หลัก POSDCoRB โดยนำไปปรับใช้กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวัด ในช่วงเปลี่ยนผ่านเจ้าอาวาสรูปใหม่เข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งมีความแตกต่างในแนวทางบริหาร และ วิสัยทัศน์
มีการนำหลัก POSDCoRB มาปรับใช้ ในการวางหลักการบริหารเพื่ออนาคต ดังนี้
บุคลากรในวัด มีพระสงค์ ที่มีความแตกต่างในถิ่นที่มา และ ระดับการศึกษา จึงทำการส่งเสริมบุคคลากรด้วยการส่งเสริมด้านการศึกษา ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๘ จะเห็นได้ว่า มีการใช้หลัก ทฤษฏี ทางด้านการวางแผน (Planning) ด้านบุคลากร (Staffing) และด้านงบประมาณ (Budgeting)
ในช่วงเปลี่ยนผ่านตำแหน่งเจ้าอาวาสมาเป็นรูปปัจจุบัน มีความเห็นที่แตกต่างในองค์กร บ้างก็สนับสนุน บ้างก็ไม่เห็นด้วย จึงทำให้อำนาจการสั่งการของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันยังไม่มีน้ำหนักเท่าที่ควร จึงนำหลักการ ควบคุมสั่งการ (Directing) นำมาใช้ปรับปรุง
เมื่อมีการไม่ปฏิบัติตามนโยบายของเจ้าอาวาสรูปใหม่ ก็มีบทลงโทษ เพื่อเป็นการควบคุมดูแลให้บุคลากรส่วนใหญ่มีความเข้าใจในหน้าที่ของแต่ละรูป
มีแผนงานในการสนับสนุนให้วัดได้มีนโยบายในการจัดทำพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาพระธรมม แบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละส่วน ทำให้มีการให้ความร่วมมือกันมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น