วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Organizing : KM


การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)
การจัดการความรู้มีความเป็นมาที่ยาวนานแต่ที่เริ่มเป็นทางการจะอยู่ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 เล็กน้อย จากการอภิปรายถึงถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องของ การฝึกหัดที่เป็นทางการ การประชุมเพื่อหาข้อสรุป การจัดห้องสมุดบริษัท การอบรมความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และการให้คำปรึกษา เมื่อผ่านมาถึงยุคที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ก็มีเริ่มมีความชัดเจนขึ้นในเรื่องของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น ฐานข้อมูลความรู้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่เก็บความรู้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ระบบเครือข่ายระยะไกล และงานสนับสนุนด้านคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งในปี 1999 การจัดการเรื่องความรู้ส่วนบุคคลได้รับความสนใจว่ามีส่วนกับการพัฒนาองค์ความรู้ขององค์กร จึงเริ่มมีการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (Wright 2005)
การจัดการความรู้ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ เก็บรักษา แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ความชำนาญทุกรูปแบบ เช่น เอกสาร แฟ้มงานในคอมพิวเตอร์ หรือตัวบุคคลากร ภายในองค์กรภาครัฐและเอกชน หรืองานด้านธุรกิจการค้าและบริการ โดยพัฒนาและบริหารจัดการระบบจาก ข้อมูล (Data) ไปสู่ สารสนเทศ (Information) เพื่อให้เกิด ความรู้ (Knowledge) และ ปัญญา (Wisdom) เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างยั่งยืน อย่างน้อย 4 ประการ คือ เป้าหมายของงาน เป้าหมายการพัฒนาคน และเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในองค์กร
การจัดการความรู้มีความเกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องราวคือ 1) เรื่องของความรู้ และ 2) การจัดการความรู้ องค์ประกอบของความรู้คือ คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร ส่วนการจัดการความรู้มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ 3.1)คน (People) หมายถึงพนักงาน ลูกจ้าง ลูกค้า หรือผู้มีผลกระทบกับองค์กร KM จะรวบรวมว่าใครเชี่ยวชาญในด้านใดบ้างถ้ามีงานใหม่เข้ามาจะมอบหมายให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบ 3.2) สถานที่ (Place) หมายถึง ที่ที่ทุกคนในองค์กรสามารถระดมความคิดร่วมกันได้อาจอยู่ในรูปของเว็บบอร์ด การประชุมทางไกล หรือ โปรแกรมออนไลน์อื่นๆก็ได้ และ 3.3)ข้อมูล (Thing) หมายถึงทุกสิ่งที่นำเก็บและให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยง่าย การวิเคราะห์แยกแยะหมวดหมู่ของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ (ปะวะเสนะ, 2547)
วัตถุประสงค์ของการจัดการองค์ความรู้มีขึ้นเพื่อ 1)สร้างความเข้าใจอันดีต่องาน ต่อปัญหา  และสามารถร่วมแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี ได้อย่างมีหลักการ และแนวคิดที่เหมาะสม 2)เพื่อส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มในการสร้างสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำสู่การบรรลุเป้าหมาย 3)เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็น และสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร 4)เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการทำงาน  เห็นความสำคัญและคุณค่าของตัวบุคคล 5)เพื่อให้มีเกิดการพัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคคลในการทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ 6)เพื่อสร้างความรู้ใหม่  หรือนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้น 7)เพื่อรวบรวมความรู้ภายในองค์กร  และนำเข้าความรู้จากภายนอกที่เกี่ยวข้อง  แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ 8)เพื่อเป็นการเสาะหา รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่ละคน ที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ กัน 9)เพื่อให้ข้อมูลตอบสนองตรงตามเป้าหมายของผู้รับบริการ และตรงตามเป้าหมายขององค์กรให้มากที่สุด 10)เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในองค์กร ที่ทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน 11)เพื่อให้มีการรวมกลุ่มกันของบุคคลในองค์กรที่มุ่งเน้นความรู้ และการเรียนรู้ร่วมกัน 12)เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์กร และ 13)เพื่อให้องค์กรมีความเข้มแข็ง และมีจุดเด่นในการที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่น
ข้อดีของการจัดการความรู้มีอย่างน้อย 4 ประการได้แก่ 1)ผลสัมฤทธิ์ของงานเกิดผลสำเร็จในงานระดับดีขึ้น และอาจจะได้นวัตกรรมของงานใหม่ๆ 2)พนักงานเกิดการพัฒนาการเรียนรู้เกิดความมั่นใจตนเองเกิดความเป็นชุมชนในหมู่ผู้ร่วมงานเป็นบุคคลเรียนรู้ 3)ความรู้ ของบุคคลและขององค์กรได้รับการยกระดับมีการสั่งสมและจัดระบบให้พร้อมในการนำไปใช้ประโยชน์ และ 4)องค์กร มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้
สำหรับปัญหาหรือข้อเสียของการจัดการองค์ความรู้ ตามการทบทวนของนายไพบูลย์ ปะวะเสนะ บรรณารักษ์ 3 ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง (1 ธันวาคม 2547)ประกอบด้วย 6 ประการ คือ 1)การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลกับองค์กรเช่นปัญหาการไม่แบ่งปันความรู้บริษัทหนึ่งมีการส่งพนักงานไปสัมมนา หรือฝึกอบรม หลังจากที่กลับมาแล้วก็เก็บความรู้เอาไว้คนเดียวหรืออาจจะรายงานให้หัวหน้าทราบเพียงเท่านั้นแต่พนักงานคนอื่นอีกหลายคนในองค์กรที่ไม่ได้ไปจะไม่รับรู้เลยว่าคนที่ไปฝึกอบรมหรือไปสัมมนามานั้น ได้อะไรกลับมาเพราะมีไม่การเก็บบันทึกรายงานหรือสิ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการอบรมหรือสัมมนาในครั้งนั้นๆ ไว้ในฐานข้อมูล อินทราเน็ต หรือเว็บไซต์หากองค์กรไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องเช่นนี้ก็จะให้การลงทุนไปกับการส่งพนักงานไปฝึกอบรม หรือเข้าร่วมสัมมนา อาจจะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า 2)การจัดเก็บความรู้ขององค์กรจัดเก็บไว้หลากหลายแหล่ง หลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์และไม่เป็นอิเล็กทรอนิกส์กระจัดกระจายในยามที่ต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแบบด่วนจะทำไม่ได้เพราะต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลนานทำให้เสียผลประโยชน์ต่อองค์กร 3)การไม่นำความรู้ขององค์กรมาสร้างความสามารถในการแข่งขันหรือก่อให้เกิดประโยชน์อย่าง แท้จริง ในองค์กรมีความรู้มากมายที่ได้จากการวิจัยหรือประสบการณ์จากการทำงานแต่วิจัยแล้วก็จบไปไม่นำไปประยุกต์เพื่อทำให้เกิดผลทางธุรกิจต่อไปหรืองบโครงการหมดก็จบโครงการไปไม่มีการสานต่อหรือองค์กรมีผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถออกไปสอนองค์กรอื่นให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้แต่ในขณะเดียวกัน ท่านเหล่านั้นกลับยุ่งและไม่มีเวลาเหลือพอที่จะพัฒนาคนในองค์กรเดียวกันเลยก็กลายเป็นความสูญเปล่าที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น 4)การสร้างความรู้ใหม่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีการสะสมความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบเมื่อไม่เกิดความรู้ใหม่อีกทั้งความรู้เดิมไม่ได้เก็บไว้ด้วยแล้วองค์กรก็จะไม่เหลืออะไรและจะตายลงในที่สุด 5)การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับใช้อาจจะทำให้ตามสถานการณ์โลกและคู่แข่งไม่ทัน และ 6)ความรู้ในองค์กรความรู้ภายนอกองค์กร ไม่เชื่อมโยงกับงานและขาดบริบทในการปฏิบัติงาน(ปะวะเสนะ, 2547)
การจัดการความรู้เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี๓ส่วนซึ่งประกอบด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้ ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision - KV)มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"ส่วนนี้เป็นเป้าหมายวิสัยทัศน์หรือทิศทางของการจัดการความรู้โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ต้องตอบให้ได้ว่าเราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร?” โดยหัวปลานี้จะต้องเป็นของคุณกิจหรือผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมดโดยมีคุณเอื้อและคุณอำนวยคอยช่วยเหลือ ส่วนกลางลำตัว (Knowledge Sharing - KS) ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกันเป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญซึ่งคุณอำนวยจะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้คุณกิจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัวคุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีมให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ยกระดับความรู้และเกิดนวัตกรรม ส่วนหาง (Knowledge Assets - KA)คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ "สะบัดหาง" สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติเป็นส่วนของคลังความรู้หรือขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสมเกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตัวปลาซึ่งเราอาจเก็บส่วนของหางปลานี้ด้วยวิธีต่างๆเช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัดนำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้พร้อมยกระดับต่อไป
ผู้ที่นำไปใช้ประกอบด้วย 1) Situated Learning and the Situated Knowledge Web: Exploring the Ground Beneath Knowledge Management (SARMA R. NIDUMOLU, MANI SUBRAMANI, AND ALAN ALDRICH: Journal of Management Information Systems /summer 2001, Vol. 18, No. 1, pp. 115–151. © 2001 M.E. Sharpe, Inc. 2) Knowledge management technologies and applications—literature review from 1995 to 2002 Shu-hsien Liao: Department of Management Sciences & Decision Making, Tamkang University, No. 151, Yingjuan Rd., Danshuei Jen, TaiPei, Taiwan 251 R.O.C. (www.elsevier.com/locate/eswa) 3) วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 .. - .. 2549 ปัจจัยการจัดการความรู้กับองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา.” :จำเริญ จิตรหลัง นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กรณีศึกษา บริษัท NOK Precision Component (Thailand) Ltd. และ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น