วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Planning :The five forces Analysis


The five forces model of competitionCompetitive Strategy: Techniques for analyzing industries and competitors
(Michael E. Porter, 1980)
เครื่องมือการวิเคราะห์และสำรวจสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน (PLANNING TOOL) จึงถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแนวคิดของ ไมเคิล อี พอร์เตอร์ (Michael E. Porter) ที่มีการกำหนดปัจจัยสำคัญ 5 ประการที่ส่งผลต่อสภาวะในการแข่งขันของอุตสาหกรรม หรือที่เราเรียกกันว่า “The five forces model of competition” เพื่อดูความรุนแรง ความน่าสนใจและศักยภาพในการทำกำไรของอุตสาหกรรมก่อนจะการตัดสินใจเข้าไปดำเนินธุรกิจ
Michael E. Porter เป็นศาสตราจารย์ประจำ Harvard Business School เป็นผู้ริเริ่มนำเอาวิชาการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์คู่แข่ง (Industry and Competitive Analysis) มาใช้สอนในโครงการ MBA ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด Michael E. Porter ได้เสนอแนวคิดไว้ในหนังสือชื่อ กลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) ว่าการแข่งขันที่เข้มข้น (Intensity of competition) เป็นส่วนประกอบที่วิกฤติที่สุดของสภาพแวดล้อมองค์กร เขาแนะนำว่า ระดับความเข้มข้น (level of intensity) หรือความรุนแรงเกิดจากพลังผลักดันทั้งห้าในอุตสาหกรรมการแข่งขัน (Five Forces driving industry competition)
1. Potential Entrants การเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งขันใหม่ ได้แก่ องค์กรธุรกิจอื่นที่ในขณะนั้นอยู่ภายนอกอุตสาหกรรม แต่มีความสามารถและมีแนวโน้มที่จะเข้ามาสู่อุตสาหกรรม
2. Industry Rivalry การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม โดยระดับความรุนแรงของการแข่งขันจะมีผลต่อศักยภาพแห่งการทำกำไรภายในอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
3. Substitutions สินค้า/บริการที่ทดแทน ในอุตสาหกรรมบางประเภท ผู้ผลิตภายในอุตสาหกรรมอาจจะต้องประสบกับความสูญเสียอันเนื่องมาจากภัยคุกคามจากผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตในอุตสาหกรรมอื่น แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้
4. Bargaining Power of Suppliers อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตและส่งมอบวัตถุดิบ
5. Bargaining Power of Customers/Buyers อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า ที่ผู้ซื้อหรือลูกค้าสามารถทำให้ราคาลดได้และสามารถต่อรองเรื่องคุณภาพและปริมาณได้
ประโยชน์
Porter ยืนยันว่าพลังที่เข้มแข็ง (Collective strength) ของปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งตัดสินศักยภาพในการทำกำไรของอุตสาหกรรม (Profit potential) ซึ่งศักยภาพในการทำกำไรวัดโดยใช้อัตราผลตอนแทนแก่การลงทุนในระยะยาว (long run return on investment capital) ดังนั้น อุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ และติดตามสภาพแวดล้อมอย่างระมัดระวัง เพื่อตัดสินผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ที่มีต่อธุรกิจ
ข้อดี
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการวางกรอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อการแข่งขันได้อย่างครบถ้วน ให้องค์กรได้ตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
ข้อเสีย
<!--[if !supportLists]-->1.      <!--[endif]-->จำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงปริมาณประกอบการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อข้อวิเคราะห์และป้องกันการเกิด Bias ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลผลการวิเคราะห์คลาดเคลื่อนและส่งผลต่อกลยุทธ์ที่กำหนดในที่สุด
การนำไปใช้ประโยชน์
เป็นเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ SWOT โดยเป็นการพิจารณาวิเคราะห์ในระดับ Micro หรือการแข่งขันในอุตสาหกรรม นอกเหนือจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในระดับ Macro เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อโอกาสและอุปสรรคในการแข่งขันของธุรกิจ
กรณีศึกษา
ปัจจุบัน Five forces model ถือเป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อกำหนดกลยุทธ์ของทุกองค์กร โดยมีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาองค์กรด้วย Five forces model นี้ เช่น
<!--[if !supportLists]-->·        <!--[endif]-->Jack McCann, Lincoln Memorial University, China's Textile and Apparel Industry andthe Global Market: Five Competitive Forces. (2011)
<!--[if !supportLists]-->·        <!--[endif]-->Irene Siaw & AlecYu, An Analysis of the Impact of the Internet on Competition in the Banking Industry, using Porter's Five Forces Model. (2004)
<!--[if !supportLists]-->·        <!--[endif]-->Wei Wang & Peter P. Chang, Entrepreneurship and strategy in China: why “Porter’s five forces” may not be. (2009)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น